Thursday, 16 May 2024

3 เรื่อง ที่คนมักเข้าใจผิด “เกี่ยวกับการบริจาคให้พรรคการเมือง ตอนยื่น ภ.ง.ด.90/91

3 เรื่อง ที่คนมักเข้าใจผิด “เกี่ยวกับการบริจาคให้พรรคการเมือง ตอนยื่น ภ.ง.ด.90/91

.

เมื่อวาน มีน้องผู้จัดการโรงงานคนนึง ถามผู้เขียนเกี่ยวกับ ค่าลดหย่อนภาษี

.

ผู้เขียนตอบคำถามเสร็จ มีโอกาสเลยถามไปว่า เคยได้บริจาคเงินภาษีให้พรรคการเมืองไหม ?

.

เขาตอบว่า ไม่เคยเลยสักครั้ง

.

ผู้เขียนรู้สึกเอะใจ เลยถามต่อว่า ทำไม?

.

เขาบอกว่า ไม่อยากเสียเงินเพิ่ม

.

.

ผู้เขียนเลยต้องอธิบายไปว่า

.

การบริจาคเงินให้พรรคการเมือง จะมี 2 แบบนะ

แบบแรก “บริจาคตรง” หรือเรียกทางการว่า “เงินบริจาคพรรคการเมือง” อันนี้บริจาคจากกระเป๋าเงินของคนบริจาคเอง จะเอาเอกสารมายื่นเป็นค่าลดหย่อนตอนคำนวณภาษี ได้ตามจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน10,000 บาท

.

แต่ถ้าไม่อยากจ่ายเงินเอง แล้วก็ไม่อยากได้ค่าลดหย่อนภาษี แต่พรรคการเมืองในดวงใจจะมีทุนดำเนินงาน

.

จะมีอีกวิธี ครับ

ก็คือ การบริจาคเงินผ่านกระเป๋าของรัฐ ตอนยื่นเสียภาษี ภ.ง.ด90/91 มีชื่อเรียกภาษาทางการว่า “การอุดหนุนเงินภาษีเพื่อบริจาคพรรคการเมือง” ครับ

.

เรื่องนี้ ผู้เขียนอธิบายเพิ่มไปว่า

ปกติ เวลากรมสรรพากร จะเก็บภาษีจากเงินเดือน

บริษัทจะหักเงินเดือนเผื่อเอาไว้เลย

ถ้ารัฐหักเอาไว้ มากกว่าที่เราต้องจ่ายจริง เกินส่วนที่เกิน คือเงินของเรา ที่รัฐถือเอาไว้ให้ ถึงเวลาก็ต้องคืน ส่วนนี้เรียกง่ายๆ ว่า “เงินคืน”

.

ส่วนที่เราต้องจ่าย ก็เรียกว่า “เงินภาษี”

.

คราวนี้ เรื่องที่เข้าใจผิดก็คือ

1 น้องเขาเข้าใจผิดว่า “ถ้าเลือกบริจาคในแบบ ภ.ง.ด 90/91 จะต้องเสียเงินเพิ่มมากกว่าที่ต้องเสียเดิม” ความจริงคือ เงินบริจาคให้พรรคการเมือง จะหักออกจากกระเป๋าเงินของรัฐ หลังจากที่รับเงินภาษีเราไปแล้ว เงินในกระเป๋าเราเท่าเดิมครับ

.

สมมุติว่า บริษัทหักเก็บเงินเดือนไป 2000 บาท คำนวณแล้วเราต้องเสียภาษี 1000 บาท เราจะได้คืน 1000 บาท รัฐเก็บเป็นภาษี1000 บาท

.

และรัฐจะหักส่วนภาษี1000 บาทนั้น เก็บเข้าคลัง 500 บาท และ ให้พรรคการเมืองที่ระบุไว้ 500 บาท

.

2 น้องเข้าใจผิดว่า ” ถ้าบริจาคจะได้เงินคืนน้อยลง” ความจริงก็คือ อย่างที่บอกว่า เงินบริจาคผ่าน ภ.ง.ด.90/91 นี้ หักจากกระเป๋าเงินของรัฐตามที่อธิบายข้อ 1 จึงไม่มีผลกับเงินคืน

.

3. น้องเข้าใจผิดว่า “เรื่องเงินบริจาคพรรคการเมือง” กับ “การอุดหนุนเงินภาษีเพื่อบริจาคพรรคการเมือง” คือ อันเดียวกัน ซึ่งความจริงคือ ไม่ใช่อันเดียวกัน และสิทธิประโยชน์ไม่เหมือนกันครับ

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ

3.1 วิธีบริจาค แบบบริจาคตรง จะเดินไปบริจาคที่พรรคการเมืองได้เลย แต่ แบบเงินอุดหนุนภาษี จะต้องบริจาคผ่านกรมสรรพากรตอนยื่นเสียภาษี

.

3.2 สิทธิประโยชน์ แบบบริจาคตรง นำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน10,000บาท แต่ แบบอุดหนุนเงินภาษี จะไม่มีผลกับกระเป๋าของผู้เสียภาษี

.

3.3 สิ่งที่บริจาค แบบบริจาคตรง จะเป็นเงิน สิ่งของ หรือการสนับสนุนใดๆก็ได้ แต่การอุดหนุนเงินภาษี จะเป็นเงินภาษีที่รัฐเก็บในส่วนของรัฐเท่านั้น

.

3.4 จำนวนพรรค แบบบริจาคตรงจะบริจาคพรรคใดๆมากกว่า 1 พรรคก็ได้ แต่แบบอุดหนุนเงินภาษี จะบริจาคด้วยการกรอกลงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด 90/91 ได้เพียงพรรคเดียวเท่านั้นครับ

.

สรุปคือ

การบริจาคแบบผ่าน ภ.ง.ด 90/91 จะควักเงินจากกระเป๋ารัฐ มาให้พรรคการเมืองนะครับ

.

ไม่ว่าเราจะอุดหนุนเงินภาษีเพื่อบริจาคพรรคการเมืองหรือไม่

ถ้าต้องจ่ายเท่าไร ก็จ่ายเท่าเดิม

ถ้าต้องได้คืนเท่าไร ก็ยังได้เงินคืนเท่านั้น ครับ

.

แต่สิ่งที่ได้เพิ่มคือ

พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ มีเงินมาบริหารงานต่อเพื่อทำให้ทุกๆคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

.

พอน้องคนที่ถามเข้าใจ เขาบอกผู้เขียนว่า ยื่นภาษีคราวหน้า จะกรอกให้ “พรรคแรงงานสร้างชาติ” แน่นอน

.

ผมเลยจดเลขเด็ดให้ “รหัสพรรคการเมือง 245 พรรคแรงงานสร้างชาติ”

.

แล้วผู้อ่านล่ะครับ ถ้ามีพรรคในดวงใจก็อย่าลืมยื่นภาษีให้พรรคด้วยนะครับ แต่ถ้าเห็นว่า พรรคแรงงานสร้างชาติเป็นพรรคน้ำดี อยากสนับสนุนก็อย่าลืมกรอก

245 ในช่องเลขรหัสพรรคการเมือง และ500 บาท ในช่องจำนวนเงิน นะครับ

.

ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง