Thursday, 16 May 2024

เกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ล้ม ใช้ สิทธิ พรบ. อยู่ จะไปขอค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้ไหมครับ?”

“พี่ครับ ผมเกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ล้ม ตอนนี้ผมใช้ สิทธิ พรบ. อยู่ จะไปขอค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้ไหมครับ?”

วันนี้ ผมกำลังขับรถไปทำธุระ ก็มีน้องๆ โทรมาถาม ตามข้อความข้างบน

.

แน่นอนครับว่าการขับรถ กับคนทำงาน มันของคู่กัน ไม่มีใครอยากเจออุบัติเหตุ ใช่ไหมครับ แต่เมื่อหนีไม่พ้น ต้องบาดเจ็บ ก็ต้องรักษา ซึ่งในปัจจุบัน ลูกจ้างคนทำงานทุกคน จะมีสิทธิในการรับค่ารักษาพยาบาลอยู่หลายอย่าง เช่น สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จากประกันสังคม จากค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด จากประกันสุขภาพ ฯลฯ

ประเด็นปัญหาคือ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์ ลูกจ้างได้รับสิทธิรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จะใช้สิทธิรับค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมซ้ำอีกได้ไหม ?

.

แน่นอนว่าเราต้องมาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันก่อนครับ ซึ่งกรณีนี้ ผู้เขียนขอยกฎีกามาเป็นตัวอย่าง 2 แนวทาง

.

ตัวอย่างที่ 1 เลขที่ฎีกา 2040/2539 สิทธิของโจทก์(ผู้บากเจ็บ)ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

.

ส่วนสิทธิของโจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย(สนง.ประกันสังคม)เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับ

.

โดยโจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ด้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้ง 2 ทาง

.

และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีก

.

.จำเลย(สนง.ประกันสังคม)จึงยกเอาเหตุที่โจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้แก่โจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ไม่ได้

.

โจทก์(ผู้บาดเจ็บ)จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการเเพทย์จากจำเลย(สนง.ประกันสังคม)

.

จากตัวอย่างฎีกานี้ จะเห็นว่า ถ้าลูกจ้าง(ผู้บาดเจ็บ)มีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม แม้จะใช้สิทธิจาก พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อนแล้ว ก็ยังมาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้อีก ประกันสังคมจะเอาเรื่องที่ไปรับสิทธิอื่นมาอ้างไม่จ่าย ไม่ได้ครับ

.

เรามาดูอีกคำพิพากษาฎีกา

ตัวอย่างที่ 2 คำพิพากษาฎีกาที่ 963/2539 โจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนได้รับบาดเจ็บมีแผลฉีกขาดที่หน้า ตับ และกระดูกชาหัก

.

เข้ารับการักษาพยาบาลครั้งแรกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต่อมาได้มีการส่งตัวโจทก์ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

.

โจทก์(ผู้บาดเจ็บ)และมารดาโจทก์ “ลงชื่อในหนังสือไม่ใช้สิทธิประกันสังคม”

.

และภรรยาของผู้ขับรถยนต์ชนโจทก์(ผู้บาดเจ็บ)ลงชื่อยินยอมจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล

.

การที่โจทก์ลงชื่อในหนังสือไม่ใช้สิทธิประกันสังคม

.

โดยโจทก์เลือกให้คู่กณีคำรักษาพยาบาลให้ ซึ่งจะได้รับการรักษาพยาบาลด้วยมาตฐานที่ดีกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการใช้สิทธิของผู้ประกันตน

.

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลผูกพันโจทก์

.

จากตัวอย่างที่สองนี้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไปทางเดียวกันกับตัวอย่างที่ หนึ่ง คือ แม้เป็นสิทธิตามกฎหมายอื่น เช่น ตามสิทธิว่าด้วยการกระทำละเมิด ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ทำละเมิดแล้ว ก็ยังขอรับสิทธิจากประกันสังคมได้อีก

.

แต่ตัวอย่างที่สองนี้ แตกต่างจากตัวอย่างแรกตรงที่ ลูกจ้างมีการทำข้อตกลงไม่ใช้สิทธิประกันสังคม โดยเลือกให้คู่กณีคำรักษาพยาบาลให้ ซึ่งจะได้รับการรักษาพยาบาลด้วยมาตฐานที่ดีกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการใช้สิทธิของผู้ประกันตน ข้อตกลงนี้ ผูกพันตัวลูกจ้าง จึงไปเบิกประกันสังคมไม่ได้

.

ผู้เขียนอยากบอกว่า

.

****ศาลฎีกาได้วางหลักไว้ชัดเจนว่า “พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมาย พิเศษ ที่ บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ให้การ สงเคราะห์ แก่ ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่ง ประสบ อันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือ ตาย อัน มิใช่เนื่องจาก การ ทำงาน รวมทั้ง กรณี อื่น อีก จึง จะ นำ หลักกฎหมาย ทั่วไปใน เรื่อง ประกันวินาศภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มา ใช้ บังคับใน กรณี นี้ ไม่ได้” ****

.

เว้นแต่ไปทำข้อตกลงสละสิทธิ จะมีผลพูกพัน ทำให้หมดสิทธินะครับ

.

รายละเอียดในฎีกาตัวอย่าง ค่ารักษาจริง เกิน 10000 บาท

จ่ายให้ รพ.แห่งหนึ่งไป 7905 บาท และนำส่วน 7905 บาทไปเบิกตามสิทธิ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้ 10,000 บาท และศาลฎีกา พิพากษาให้ จ่ายให้อีก 7905 บาท

.

ประเด็นที่น่าสังเกตุในฏีกาก็คือ ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้บาดเจ็บจ่ายจริง เป็นเงินหลักแสน แต่เบิกค่ารักษาจากทั้งสองสิทธิได้เพียงหมื่นกว่าบาท นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ศาลฎีกาวินิจฉัยให้หรือไม่ กรณีนี้ผู้เขียนไม่มั่นใจ

.

เพราะโดยหลักกฎหมายทั่วไป ก็คือ กฎหมายจะไม่คุ้มครองแก่ผู้ที่หากำไรจากการประกัน โดยการใช้สิทธิซ้ำซ้อนครับ ซึ่งหมายถึงการใช้สิทธิที่เกิดจากการประกันวินาศภัย ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มากกว่า แต่ไม่ใช่กรณีกับกฎหมายประกันสังคมครับ

.

ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เห็นด้วยกับศาลฎีกา ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิที่มีที่มาจากต่างฐานครับในกรณีประกันสังคมนี้

.

มิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า ถึงจะมีสิทธิประกันสังคม ถ้าต้องเลือกใช้สิทธิที่ดีกว่าแล้วใช้สิทธิประกันสังคมไม่ได้ ก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้สิทธิประกันสังคมเลย

.

อีกประเด็นที่น่าคิดก็คือ วิธีปฏิบัติจริงๆ เวลาเกิดอุบัติเหตุ ก็มักจะมีคนมาถามว่าจะเลือกใช้สิทธิอะไรเสมอๆ และตัวคนที่ได้รับบาดเจ็บก็มักจะเลือกทางที่ตนคิดว่าจะดีกว่า และยอมสละสิทธิอันอื่นไป

.

ขอย้ำอีกครั้งว่า

****ศาลฎีกาได้วางหลักไว้ชัดเจนว่า”พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมาย พิเศษ ที่ บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ให้การ สงเคราะห์ แก่ ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่ง ประสบ อันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือ ตาย อัน มิใช่เนื่องจาก การ ทำงาน รวมทั้ง กรณี อื่น อีก จึง จะ นำ หลักกฎหมาย ทั่วไปใน เรื่อง ประกันวินาศภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มา ใช้ บังคับใน กรณี นี้ ไม่ได้” ****

.

หากท่านใดมีความเห็นต่างอย่างไร คอมเม้นท์คุยกันได้นะครับ

.

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้บ้างนะครับ และฝากแชร์ให้คนที่ยังทำงานอยู่ เพื่อวันหนึ่งจะได้ช่วยเหลือผู้ที่ต้องบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุกันได้ครับ

.

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

.

หากท่านไม่อยากจำและอยากมีที่ปรึกษาปัญหาแรงงาน

ทางพรรคแรงงานสร้างชาติมีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือดังนี้

ศูนย์ช่วยเหลือกฎหมายเพื่อประชาชน”พรรคแรงงานสร้างชาติ”

https://www.facebook.com/groups/nationlabour

ศูนย์ประสานงานรับร้องเรียน/ร้องทุกข์ด้านแรงงาน

https://www.facebook.com/groups/582536455701386

อ้างอิง

ฎีกาวิเคราะห์

https://www.smartdeka.com/…/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E…