Thursday, 16 May 2024

ไม่จ่ายค่าจ้าง = คุก

ไม่จ่าย = คุก

ค่าจ้าง

ไม่จ่าย = คุก

.

มีน้องคนหนึ่งอินบ็อกมาเล่าให้ฟังว่า ทำงานแล้วถูกให้ออกจากงาน นายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้างที่ค้างให้ นายจ้างอ้างว่าไม่มีสัญญาจ้าง แล้วขอคำแนะนำว่า ควรทำยังไงต่อดี ?

.

เรื่องนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างนี้ พบเจอบ่อยมาก จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรรู้่ครับ

การที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือผัดผ่อนค่าจ้าง หรือไม่จ่ายตรงเวลา

หรือนายจ้างไม่จ่าย ลูกจ้างจะทำอย่างไรได้บ้างนั้น

.

เราต้องดูตามกฎหมายแรงงาน ว่า

“สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายก็ได้ ซึ่งเนื้อหาของสัญญาจะระบุว่าบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ลูกจ้าง” ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า “นายจ้าง” และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้

.

เมื่อตกลงว่าจ้างแล้วก็ต้องดูต่อว่าจะจ่ายค่าจ้างกันวันใหน

.

กฎหมายให้ระบุ 2 เรื่อง คือ “วัน” และ “สถานที่” จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างจึงสามารถทราบได้ว่านายจ้างจะจ่ายค่าจ้างวันไหน ตามมาตรา 108 เช่น จ่ายวันที่ 25 ของเดือน หรือ จ่ายสิ้นเดือน หรือจ่ายวันที่ 5 เป็นต้น

.

และข้อบังคับตามมาตรา 108(4) กำหนดให้ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละครั้งตามมาตรา 70(1)

.

กฎหมายยังกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

.

แต่ถ้าลูกจ้างลาออกต้องจ่ายค่าจ้างที่ค้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายครั้งแรกหลังจากวันที่ลาออก

.

แต่ถ้าเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

.

“ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่”

.

แต่กรณีค่าจ้าง หากไม่จ่ายก็ผิดกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา ทางแพ่งนอกจากต้องจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาค้างจ่ายแก่ลูกจ้างแล้ว ก็ยังต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

.

และนอกจากนี้หากศาลเห็นว่าเป็นการจงใจไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อาจต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วันตามมาตรา 9 วรรคสองอีกด้วยนะครับ

.

จากที่ค้างเป็นพันเป็นหมื่นอาจต้องจ่ายเป็นแสนเป็นล้าน

.

ส่วนโทษทางอาญาตามมาตรา 144 ก็จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับเลยนะครับ

.

เห็นไหมครับว่า กฎหมายได้คุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่วันแรกที่เกิดการจ้าง และลูกจ้างมีสิทธิโดยชอบที่จะได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ทำงาน นายจ้างเพียงถือเงินจำนวนดังกล่าวเอาไว้ให้ลูกจ้าง นายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างที่ค้างไม่ได้เลย และไม่มีอำนาจจะหักถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 76 คือ หักเพื่อ ชำระภาษี ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน หนี้สหกรณ์ที่ได้ยินยอมไว้ เงินประกันตามาตรา 10 เงินเพื่อค่าเสียหายจากการประมาทเลินเล่อร้ายแรงที่ได้ยินยอมไว้่ เงินสะสมกองทุน และ จะหักค่าจ้างได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่มาตรา 76, 77 กำหนดไว้

.

ผู้เขียนได้แนะนำให้ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ที่ทำงานอยู่

เมื่อไปร้องแล้วพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่รับคำร้อง แต่พนักงานตรวจแรงงานอาจขอขยายระยะเวลาได้

.

หากพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างใช้เงิน ก็อาจสั่งให้ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกๆ 7 วันได้ด้วยหากพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่านายจ้าง “จงใจ” ไม่จ่ายค่าจ้าง

.

และให้บอกไปด้วยว่า ไม่จ่าย = คุก และปรับเป็นแสน ตาม มาตรา 144

.

ในกรณีนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ค่าจ้างที่ลูกจ้างได้ทำงานไปแล้ว ย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่ลูกจ้างจะได้รับ การที่นายจ้างจะอ้างเรื่องใดๆแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง ย่อมไม่ถูกต้อง และในเรื่องเศรษฐกิจเอง นายจ้างก็มีฐานะที่ดีกว่า การจะจ่ายค่าจ้างไปก่อน นายจ้างจะไล่เบี้ยเรื่องอื่นก็ว่ากันทีหลัง

.

ขอเตือนนายจ้างว่า อย่าทำเลย ผู้เขียนแนะว่าให้คุยกันดีๆ ลูกจ้างก็กลัวตกงานเหมือนกัน

.

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้บ้างนะครับ และฝากแชร์ให้คนที่ยังทำงานอยู่ เพื่อวันหนึ่งจะได้ช่วยเหลือแรงงานที่นายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้างครับ

.

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

.

หากท่านไม่อยากจำและอยากมีที่ปรึกษาปัญหาแรงงาน

ทางพรรคแรงงานสร้างชาติมีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือดังนี้

ศูนย์ช่วยเหลือกฎหมายเพื่อประชาชน”พรรคแรงงานสร้างชาติ”

https://www.facebook.com/groups/nationlabour

.

ศูนย์ประสานงานรับร้องเรียน/ร้องทุกข์ด้านแรงงาน

https://www.facebook.com/groups/582536455701386

.