อรท.ร่วมกับเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน 14 องค์กร ยื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่องชะลอเวลาการลงมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ในวันที่ 30 ตุลาคม 2557 ณ รัฐสภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน 14 องค์กร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่…) พ.ศ. …. (ครม.) และฉบับร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับคนทำงาน ” ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมเบย์ จ.สมุทรปราการ นายภาคภูมิ สุกใส ฝ่ายการศึกษา สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยเป็นผู้กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดโครงการอบรมสัมมนา ดังนี้1. เพื่อให้ผู้นำเครือข่าย/องค์กรแรงงานมีความรู้และความเข้าใจต่อแนวคิด 4 หลักการและสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับคนทำงาน รวมถึงความแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับคนทำงานและร่างพ.ร.บประกันสังคม(ฉบับที่..) พ.ศ….. ที่เสนอโดย ครม.2. เพื่อให้ผู้นำเครือข่าย/องค์กรแรงงานสามารถนำความรู้และความเข้าใจไปใช้ เพื่อนำไปวางแผนในการสร้างความรู้และความเข้าใจให้ผู้นำหลักของแต่ละเครือข่าย3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำแรงงานผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) องค์การแรงงานแห่งประประเทศไทย (อรท.) ประกอบด้วย 7 สภาองค์การลูกจ้าง 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ สหภาพแรงงาน รวม 70 ท่าน นายมนัส โกศล ตำแหน่งประธานองค์การแรงงาน แห่งประเทศไทยเป็นผู้กล่าวเปิดงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ วิทยากรจากภาครัฐ และเอกชน ช่วงเช้า เป็นการเสวนาเปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (ครม.) และฉบับร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับคนทำงาน (คปค.) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสังคม (นายกอบ เสือพยัคฆ์) นักกฎหมาย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (นายวาทิน หนูเกื้อ) ประธานสภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (นายบรรจง บุญรัตน์) นักวิชาการมูลนิธิ อารมณ์ พงศ์พงัน (นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ) ดำเนินรายการโดย รองประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (นายธนกิจ สาโสภา) ช่วงบ่ายเป็นประชุมกลุ่มย่อย (Workshop) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มที่ 3 กลุ่มสมานฉันท์แรงงานไทยเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการทำความเข้าใจ วางแผนการนำสาระสำคัญ หลักการสำคัญ เพื่อการปฏิรูปประกันสังคม และร่างพรบ.ประกันสังคมไปขยายผลให้กับแกนนำ สมาชิกในองค์กร ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ |